จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

ค้นหา

วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2559

2.ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการวางแผน การควบคุมกำไร และการจัดทำงบประมาณ

ความสำคัญและบทบาทของผู้บริหารในการวางแผนกำไร
การวางแผนกำไร
หมายถึง “การวางแนวทางการดำเนินงานที่มีระเบียบ” โดยเน้นการทำงานที่เป็นระบบ เพื่อให้งานในความรับผิดชอบของฝ่ายบริหารด้านการวางแผน การประสานงานและการควบคุม ดำเนินไปอย่างที่ต้องการ และรวมถึงความเหมาะสมของหลักการวางแผนกำไรและวิธีการดำเนินงานทุกด้าน
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการวางแผน
ประกอบด้วย
  1.องค์การ 
  2.นโยบายองค์การ 
  3.วัตถุประสงค์องค์การ 
  4.เป้าหมายองค์การ 
  5.แผนกำไรในระยะยาว
  6.แผนกำไรในระยะสั้น
  7.รายงานผลการปฏิบัติงาน 
  8.ติดตามวิธีการทำงาน 
          องค์การธุรกิจส่วนใหญ่มักกำหนดแนวทางในการวางแผนและควบคุมทางการเงิน โดยยึดแนความคิดที่สอดคล้องกับ
           - การวางแผนกำไร
           - การบัญชีตามความรับผิดชอบ
           - การบัญชีแบบต้นทุนผันแปร
           - การบัญชีต้นทุนมาตรฐาน
           - การรายงายผลการปฏิบัติงาน
จุดมุ่งหมายที่สำคัญของแนวความคิดในการวางแผนกำไร 
         คือ ฝ่ายบริหารเน้นความสนใจต่อหน้าที่การวางแผนและการควบคุมโดยสม่ำเสมอ ฝ่ายบริหารเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการดำเนินงานขององค์การให้ประสบผลสำเร็จในระยะยาว แผนกำไรเป็นแนวทางการบริหารงานโดยเน้นการดำเนินงานที่เป็นระบบ ยอมรับความจริงในเรื่องการยืดหยุ่นในการปฏิบัติงานของฝ่ายบริหาร การวางแผนกำไรยังหมายรวมถึงความเหมาะสมของหลักการวางแผนกำไร และวิธีการดำเนินงานทุกด้าน  
การวางแผนกำไรกับการบัญชี
       การวางแผนกำไรมีความสัมพันธ์กับการบัญชีเหมือนกับฝ่ายอื่น ๆ สำหรับการวางแผนกำไรกับระบบบัญชีขององค์การมีความสำพันธ์กับเรื่องต่อไปนี้
        1. ข้อมูลที่ฝ่ายบัญชีจดบันทึกในอดีต-ปัจจุบันจะต้องนำมาใช้ในการวางแผน
        2. ส่วนประกอบทางการเงินของแผนกำไรจัดทำขึ้นตามรูปแบบของการบัญชี
        3. การเปรียบเทียบข้อมูลฝ่ายบัญชีกับแผนกำไรที่วางไว้
การบริหารงานโดยมีจุดมุ่งหมายกับการวางแผนกำไร
           เป็นแนวคิดในการบริหารซึ่งเน้นการกำหนดเป้าหมายที่ผสมผสาน เป้าหมายของบุคคล และเป้าหมายขององค์การเข้าด้วยกัน เพื่อใช้เป็นหลักในการวางแผนและดำเนินงาน และใช้เป็นมาตรฐานในการวัดประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดำเนินงาน นอกจากนี้อาจใช้เป็นแรงกระตุ้นให้ แต่ละคนทำงาน โดยมีความรับผิดชอบร่วมกันเพื่อให้ผลงานบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้
                   การบริหารงานโดยมีจุดมุ่งหมายจึงไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะการตั้งเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์เท่านั้น แต่ยังมุ่งที่จะทำให้การบริหารขององค์การบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ด้วย การบริหารงานโดยมีจุดมุ่งหมาย และผลงานจะช่วยให้องค์การกำหนดสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้ได้คือ
                  - จะต้องทำอะไรบ้างเรียงตามลำดับความสำคัญ
                  - จะต้องทำอย่างไร
                  - จะต้องทำเมื่อไร
                  - จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเท่าไร
                  - ผลการปฏิบัติงานอย่างใดที่ถือว่าเป็นผลการปฏิบัติงานที่น่าพอใจ
                  - การปฏิบัติงานได้ผลคืบหน้าอย่างไร
                  - ควรแก้ไขการปฏิบัติงานเมื่อใดและด้วยวิธีการใด
      บทบาทของผู้บริหารในการวางแผนกำไร
                 พิจารณาจากหน้าที่ขั้นต้นของฝ่ายบริหารและลักษณะของการบริหารงาน ซึ่งประกอบไปด้วย
                 การประเมินทางเลือกสำหรับการวางแผนกำไร
              — การวางแผนการบริหารงานที่สำคัญช่วยให้มีการวิเคราะห์ทางเลือกปฏิบัติต่างๆ ก่อนที่จะตัดสินใจแนวทางการวางแผนกำไรที่ดีจะมีประโยชน์ในการประเมินทางเลือกต่าง ๆ ที่มีอยู่ทั้งนี้เนื่องจากความสำคัญทางการเงินได้เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย แผนกำไรสำหรับระยะสั้นและระยะยาวจึงจัดทำขึ้นจากการคาดคะเนว่า เหตุการณ์จริงควรเป็นเช่นไร จึงเป็นสิ่งที่มีประโยชน์อย่างมากต่อการประเมินผลกทางการเงินของแต่ละทางเลือกภายใต้สถานการณ์ต่างๆ กัน
                  การสรุปรายได้ การวิเคราะห์การหมุนเวียนของเงินสด การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน การควบคุมคงคลัง การวิเคราะห์ผลต่างของต้นทุน การวิเคราะห์ผลตอบแทนจากการลงทุน จะช่วยให้เห็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับทางเลือกต่างๆ เหล่านั้น
       ประโยชน์ของการวางแผนกำไร
                 1.เป็นการบังคับให้มีการพิจารณากำหนดนโยบายขั้นพื้นฐาน
                 2.กำหนดให้มีการจัดสายการบังคับบัญชาที่ดี โดยกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบแต่ละหน้าที่งานขององค์การโดยชัดเจน
                 3.บังคับให้ฝ่ายบริหารทุกระดับเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมายและการวางแผนขององค์การ
                 4.บังคับให้ผู้บริหารระดับ ผู้จัดการ แผนก ฝ่าย วางแผนงานโดยสอดคล้องกับแผนงานของแผนกฝ่ายอื่นๆ ขององค์การ
                 5.ทำให้ฝ่ายบริหารกำหนดตัวเลขที่แน่นอนเพื่อใช้วัดผลการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงานได้
                 6.บังคับให้ฝ่ายบริหารต้องวางแผนการใช้แรงงาน วัตถุ อุปกรณ์การผลิต เครื่องมือเครื่องใช้และเงินทุนอย่างมีประสิทธิภาพ
                 7.สร้างนิสัยให้ผู้บริหารทุกระดับทำงานตามกำหนดเวลา ใช้ความระมัดระวังในการพิจารณาปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบคอบก่อนทำการตัดสินใจ
                 8.ทำให้มองเห็นความมีประสิทธิภาพและความไม่มีประสิทธิภาพได้ชัดเจน
                 9.บังคับให้องค์การต้องทำการวิเคราะห์สภาพของตนเองตลอดเวลา
               10.ช่วยตรวจสอบความก้าวหน้าของวัตถุประสงค์ขององค์การ

     ข้อจำกัดของการวางแผนกำไร

                 1.แผนกำไรกำหนดขึ้นจากการประมาณการ

                 2.แผนกำไรจะต้องปรับให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา  

                 3.แผนกำไรจะไม่ประสบผลสำเร็จโดยอัตโนมัติ

                 4.แผนกำไรไม่ใช่สิ่งที่ทดแทนการบริหารงานและการจัดการต่าง ๆ


         วีดิทัศน์สรุป




1 ความคิดเห็น:

  1. เนื้อหาน่าสนใจมาค่ะ อยากทราบว่ามีหนังสือจำหน่ายไม่ค่ะ อาจารย์

    ตอบลบ