ผลงานวิจัย เจตคติของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
(ปวช.) ชั้นปีที่ 3 และนักศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ชั้นปีที่
2 สาขาวิชาการบัญชี ปีการ ศึกษา 2556 ที่มีต่อการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ด้านอาชีวศึกษา
กรณี ศึกษา :
สาขาวิชาการบัญชี วิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครู
ผู้วิจัย นางมยุรี เกื้อสกุล
ตำแหน่ง หัวหน้าสาขาวิชาการบัญชี
วุฒิการศึกษา บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (เชี่ยวชาญบัญชี)
สถานศึกษาที่ติดต่อ วิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครู 57/14 หมู่ 2 ซอยเพชรเกษม 112
ถนนเพชรเกษม
กรุงเทพฯ 10160
โทรศัพท์ 086-308-1284
ปีที่ทำวิจัยเสร็จ พ.ศ 2557
ประเภทการวิจัย วิจัยสถาบัน
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปที่มีผลต่อเจตคติของนักเรียนนักศึกษาที่มีต่อการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ
ด้านอาชีวศึกษา และศึกษาข้อเสนอแนะจากผู้ตอบแบบสอบถามที่มีต่อการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติทางด้านอาชีวศึกษา และการพัฒนาการเรียนการสอนของวิทยาลัย
ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
คือ นักเรียนชั้นปวช. 3 นักศึกษา ชั้นปวส.2 ปีการศึกษา 2556สาขาวิชาการบัญชี วิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครู
ทั้งหมดที่เข้าทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ด้านอาชีวศึกษา ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการสำรวจ
จำนวน 174 ฉบับ การเก็บรวบรวมผู้วิจัยใช้การมอบให้ประชากรทั้งหมดและจัดเก็บด้วยตนเอง
นำมาวิเคราะห์เฉพาะผู้ที่เข้ารับการทดสอบ การวิเคราะห์ในส่วนนี้ใช้ โปรแกรมคอมพิวเตอร์
IBM SPSS Statistics Version 17 (trail) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความถี่ ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน
สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐานความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของประชากรทั้ง 2 กลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน
(Independent Sample t-test) และทดสอบสมมติฐาน ความแปรปรวนทางเดียวของประชากรมากกว่า
2 กลุ่มขึ้นไป (One – Way ANOVA : f – test) หาความแตกต่างเป็นรายคู่
โดยวิธี Least Significant Difference (LSD)
ผลการวิจัยพบว่า
ระดับเจตคติของนักเรียน นักศึกษาด้านความรู้ความเข้าใจ ด้านความรู้สึก ด้านพฤติกรรมที่กระทำ
ด้านการประเมินผลการเรียนรู้ ด้านการปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอน ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา
โดยรวมอยู่ในระดับมาก ทั้ง 6 ด้าน ปัจจัยสถานภาพทั่วไปของประชากร ได้แก่ ระดับการศึกษา
ได้แก่ ปวช. และปวส. มีเจตคติต่อการทดสอบต่างกัน คือยอมรับสมมติฐาน 5 ด้านได้แก่ ด้านความรู้สึก
ด้านพฤติกรรม ด้านการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
ด้านปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอน ด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัย
สำหรับด้านความรู้ความเข้าใจต่อการทดสอบ 2 ระดับชั้น มีเจตคติไม่แตกต่างกันโดยระดับชั้นปวส.
มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าระดับ ปวช.ทุกด้าน รอบการศึกษาทั้ง 2 รอบการศึกษา คือรอบเช้าและรอบบ่าย
มีเจตคติต่อการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ด้านอาชีวศึกษา ไม่แตกต่างกัน ระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมที่ต่างกัน
มีระดับเจตคติต่อการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ด้านอาชีวศึกษา ไม่แตกต่างกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น