จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

ค้นหา

วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2559

งานวิจัย 2558 วิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครู


ผลงานวิจัย                    พฤติกรรมนักศึกษาสาขาวิชาการบัญชีในคุณลักษณะที่
                                พึงประสงค์ ตามมาตรฐานการศึกษาวิชาชีพของหลักสูตรสำนัก งานคณะกรรมการอาชีวศึกษาระดับปวชและปวสศึกษากรณีนักศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครู ระดับปวช.3 และ ปวส.2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558
ผู้วิจัย                            นางมยุรี เกื้อสกุล
ตาแหน่งปัจจุบัน              หัวหน้าแผนกวิชาการบัญชี
วุฒิการศึกษา                  บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (เชี่ยวชาญบัญชี)
สถานศึกษาที่ติดต่อ        วิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครู ซอยเพชรเกษม 112      แขวงหนองค้างพลู เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร รหัสไปรษณีย์ 10160
โทรศัพท์ 086 308 1284
E – mail : acc_mayuree19@hotmail.com
ปีที่ทาการวิจัยเสร็จ         2558
ประเภทงานวิจัย             วิจัยสถาบัน
บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง พฤติกรรมนักศึกษาสาขาการบัญชีในคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตามมาตรฐานการศึกษาวิชาชีพของหลักสูตรสานักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษาระดับปวชและปวสศึกษากรณี นักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครู ระดับปวช.3 และ ปวส.2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558   มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมนักศึกษาสาขาการบัญชีในคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตามมาตร ฐานการศึกษาวิชาชีพของหลักสูตรสานักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษาระดับปวช.และปวสด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ และศึกษาเปรียบเทียบระดับการ ศึกษามีผลต่อพฤติกรรมในคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตามมาตรฐานการศึกษาวิชาชีพของนักศึกษาที่เรียนสาขาวิชาการบัญชี   ประชากรและกลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาระดับปวช.3 และ ปวส.2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 วิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครู ทั้งหมดรวม 121 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบ สอบถาม มอบให้นักศึกษาทั้งหมดโดยตรง ได้รับแบบสอบถามคืนครบ คิดเป็นร้อยละ 100 สถิติที่ใช้ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ทดสอบสมมติฐานด้วยการทดสอบค่าที (t - test) ตัวแปรต้นสองกลุ่ม จาแนกตามระดับการศึกษาโดยกาหนดระดับนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า ส่วนใหญ่เป็นผู้อยู่ระดับชั้น ปวส.2 ร้อยละ 52.9 ระดับชั้น ปวช.3 ร้อยละ 47.1 พฤติกรรมที่นักศึกษาปฏิบัติตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของหลักสูตรสานักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษาระดับ ปวชและปวส.โดยรวมคุณลักษณะที่พึงประสงค์ อยู่ในระดับมาก ประกอบด้วย 3 ด้าน คือ ด้านคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ อยู่ในอันดับแรกโดยรวม พฤติกรรมอยู่ในระดับมาก เมื่อแยกองค์ประกอบย่อยแล้ว อันดับแรกคือ ความกตัญญูกตเวที อยู่ในระดับ มาก องค์ประกอบลาดับสุดท้ายของด้านนี้ คือ ความเป็นกลางในวิชาชีพบัญชี อยู่ในระดับปานกลาง ด้านพฤติกรรมลักษณะนิสัย อยู่ในอันดับที่สอง โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อแยกองค์ประกอบย่อยแล้ว อันดับแรกคือ การปฏิบัติงานโดยคานึงถึงความปลอดภัยอาชีวอนามัย อยู่ในระดับมาก อันดับสุดท้าย คือ ความรับผิดชอบ อยู่ในระดับ ปานกลาง ด้านทักษะทางปัญญา อยู่ในอันดับที่สามโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อแยกองค์ประกอบย่อย แล้ว อันดับแรก คือ ความสามารถและความระมัดระวังทางวิชาชีพ อยู่ในระดับมาก อันดับสุดท้ายคือ ความสนใจใฝ่รู้ อยู่ในระดับปานกลาง ผลการทดสอบสมมติฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างตามระดับชั้นการศึกษา พบว่า ด้านคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ มีความแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ 0.05 ระดับชั้น ปวส.2 มีพฤติกรรมการกระทามากกว่า ระดับชั้น ปวช.3 ด้านพฤติกรรมลักษณะนิสัย มีความแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ 0.05  ระดับชั้น ปวส.2 มีพฤติกรรมการกระทำมากกว่า ระดับชั้น ปวช.3 ด้านทักษะทางปัญญา ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ

วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2559

2.ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการวางแผน การควบคุมกำไร และการจัดทำงบประมาณ

ความสำคัญและบทบาทของผู้บริหารในการวางแผนกำไร
การวางแผนกำไร
หมายถึง “การวางแนวทางการดำเนินงานที่มีระเบียบ” โดยเน้นการทำงานที่เป็นระบบ เพื่อให้งานในความรับผิดชอบของฝ่ายบริหารด้านการวางแผน การประสานงานและการควบคุม ดำเนินไปอย่างที่ต้องการ และรวมถึงความเหมาะสมของหลักการวางแผนกำไรและวิธีการดำเนินงานทุกด้าน
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการวางแผน
ประกอบด้วย
  1.องค์การ 
  2.นโยบายองค์การ 
  3.วัตถุประสงค์องค์การ 
  4.เป้าหมายองค์การ 
  5.แผนกำไรในระยะยาว
  6.แผนกำไรในระยะสั้น
  7.รายงานผลการปฏิบัติงาน 
  8.ติดตามวิธีการทำงาน 
          องค์การธุรกิจส่วนใหญ่มักกำหนดแนวทางในการวางแผนและควบคุมทางการเงิน โดยยึดแนความคิดที่สอดคล้องกับ
           - การวางแผนกำไร
           - การบัญชีตามความรับผิดชอบ
           - การบัญชีแบบต้นทุนผันแปร
           - การบัญชีต้นทุนมาตรฐาน
           - การรายงายผลการปฏิบัติงาน
จุดมุ่งหมายที่สำคัญของแนวความคิดในการวางแผนกำไร 
         คือ ฝ่ายบริหารเน้นความสนใจต่อหน้าที่การวางแผนและการควบคุมโดยสม่ำเสมอ ฝ่ายบริหารเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการดำเนินงานขององค์การให้ประสบผลสำเร็จในระยะยาว แผนกำไรเป็นแนวทางการบริหารงานโดยเน้นการดำเนินงานที่เป็นระบบ ยอมรับความจริงในเรื่องการยืดหยุ่นในการปฏิบัติงานของฝ่ายบริหาร การวางแผนกำไรยังหมายรวมถึงความเหมาะสมของหลักการวางแผนกำไร และวิธีการดำเนินงานทุกด้าน  
การวางแผนกำไรกับการบัญชี
       การวางแผนกำไรมีความสัมพันธ์กับการบัญชีเหมือนกับฝ่ายอื่น ๆ สำหรับการวางแผนกำไรกับระบบบัญชีขององค์การมีความสำพันธ์กับเรื่องต่อไปนี้
        1. ข้อมูลที่ฝ่ายบัญชีจดบันทึกในอดีต-ปัจจุบันจะต้องนำมาใช้ในการวางแผน
        2. ส่วนประกอบทางการเงินของแผนกำไรจัดทำขึ้นตามรูปแบบของการบัญชี
        3. การเปรียบเทียบข้อมูลฝ่ายบัญชีกับแผนกำไรที่วางไว้
การบริหารงานโดยมีจุดมุ่งหมายกับการวางแผนกำไร
           เป็นแนวคิดในการบริหารซึ่งเน้นการกำหนดเป้าหมายที่ผสมผสาน เป้าหมายของบุคคล และเป้าหมายขององค์การเข้าด้วยกัน เพื่อใช้เป็นหลักในการวางแผนและดำเนินงาน และใช้เป็นมาตรฐานในการวัดประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดำเนินงาน นอกจากนี้อาจใช้เป็นแรงกระตุ้นให้ แต่ละคนทำงาน โดยมีความรับผิดชอบร่วมกันเพื่อให้ผลงานบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้
                   การบริหารงานโดยมีจุดมุ่งหมายจึงไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะการตั้งเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์เท่านั้น แต่ยังมุ่งที่จะทำให้การบริหารขององค์การบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ด้วย การบริหารงานโดยมีจุดมุ่งหมาย และผลงานจะช่วยให้องค์การกำหนดสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้ได้คือ
                  - จะต้องทำอะไรบ้างเรียงตามลำดับความสำคัญ
                  - จะต้องทำอย่างไร
                  - จะต้องทำเมื่อไร
                  - จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเท่าไร
                  - ผลการปฏิบัติงานอย่างใดที่ถือว่าเป็นผลการปฏิบัติงานที่น่าพอใจ
                  - การปฏิบัติงานได้ผลคืบหน้าอย่างไร
                  - ควรแก้ไขการปฏิบัติงานเมื่อใดและด้วยวิธีการใด
      บทบาทของผู้บริหารในการวางแผนกำไร
                 พิจารณาจากหน้าที่ขั้นต้นของฝ่ายบริหารและลักษณะของการบริหารงาน ซึ่งประกอบไปด้วย
                 การประเมินทางเลือกสำหรับการวางแผนกำไร
              — การวางแผนการบริหารงานที่สำคัญช่วยให้มีการวิเคราะห์ทางเลือกปฏิบัติต่างๆ ก่อนที่จะตัดสินใจแนวทางการวางแผนกำไรที่ดีจะมีประโยชน์ในการประเมินทางเลือกต่าง ๆ ที่มีอยู่ทั้งนี้เนื่องจากความสำคัญทางการเงินได้เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย แผนกำไรสำหรับระยะสั้นและระยะยาวจึงจัดทำขึ้นจากการคาดคะเนว่า เหตุการณ์จริงควรเป็นเช่นไร จึงเป็นสิ่งที่มีประโยชน์อย่างมากต่อการประเมินผลกทางการเงินของแต่ละทางเลือกภายใต้สถานการณ์ต่างๆ กัน
                  การสรุปรายได้ การวิเคราะห์การหมุนเวียนของเงินสด การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน การควบคุมคงคลัง การวิเคราะห์ผลต่างของต้นทุน การวิเคราะห์ผลตอบแทนจากการลงทุน จะช่วยให้เห็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับทางเลือกต่างๆ เหล่านั้น
       ประโยชน์ของการวางแผนกำไร
                 1.เป็นการบังคับให้มีการพิจารณากำหนดนโยบายขั้นพื้นฐาน
                 2.กำหนดให้มีการจัดสายการบังคับบัญชาที่ดี โดยกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบแต่ละหน้าที่งานขององค์การโดยชัดเจน
                 3.บังคับให้ฝ่ายบริหารทุกระดับเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมายและการวางแผนขององค์การ
                 4.บังคับให้ผู้บริหารระดับ ผู้จัดการ แผนก ฝ่าย วางแผนงานโดยสอดคล้องกับแผนงานของแผนกฝ่ายอื่นๆ ขององค์การ
                 5.ทำให้ฝ่ายบริหารกำหนดตัวเลขที่แน่นอนเพื่อใช้วัดผลการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงานได้
                 6.บังคับให้ฝ่ายบริหารต้องวางแผนการใช้แรงงาน วัตถุ อุปกรณ์การผลิต เครื่องมือเครื่องใช้และเงินทุนอย่างมีประสิทธิภาพ
                 7.สร้างนิสัยให้ผู้บริหารทุกระดับทำงานตามกำหนดเวลา ใช้ความระมัดระวังในการพิจารณาปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบคอบก่อนทำการตัดสินใจ
                 8.ทำให้มองเห็นความมีประสิทธิภาพและความไม่มีประสิทธิภาพได้ชัดเจน
                 9.บังคับให้องค์การต้องทำการวิเคราะห์สภาพของตนเองตลอดเวลา
               10.ช่วยตรวจสอบความก้าวหน้าของวัตถุประสงค์ขององค์การ

     ข้อจำกัดของการวางแผนกำไร

                 1.แผนกำไรกำหนดขึ้นจากการประมาณการ

                 2.แผนกำไรจะต้องปรับให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา  

                 3.แผนกำไรจะไม่ประสบผลสำเร็จโดยอัตโนมัติ

                 4.แผนกำไรไม่ใช่สิ่งที่ทดแทนการบริหารงานและการจัดการต่าง ๆ


         วีดิทัศน์สรุป




วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2559

1.โครงการสอน:การวางแผนและควบคุมกำไร (Profit Planning and Control)

มหาวิทยาลัยธนบุรี
โครงการสอน
การวางแผนและควบคุมกำไร   (Profit  Planning  and  Control) 
รหัสวิชา 41 4317     จำนวน 3 หน่วยกิต (3-0-3) 
ห้องเรียน  B214      อาจารย์ผู้สอน         อาจารย์มยุรี   เกื้อสกุล   เบอร์โทร   086 308 1284

คำอธิบาย รายวิชา
ศึกษาถึงหลักการ แนวคิด และวัตถุประสงค์ของการวางแผนกำไรทั้งในระยะสั้น และ ระยะยาว รวมถึงการควบคุมกำไรให้เป็นไปตามแผนงานที่วางไว้ กระบวนการจัดทำงบประมาณสมบูรณ์แบบ งบประมาณยืดหยุ่นการรายงานการปฏิบัติงานเปรียบเทียบกับงบประมาณ
วิชาบังคับก่อน  การบัญชีขั้นกลาง 1 และการบัญชีขั้นกลาง 2
วัตถุประสงค์
1.    เพื่อให้นักศึกษาได้ทราบความสำคัญของการวางแผนที่จะสามารถทำให้ธุรกิจบรรลุวัตถุประสงค์ในด้านการดำเนินงานได้ และการควบคุมกำไรที่อย่างน้อยก็ต้องมีกำไรมากกว่าคู่แข่งที่มีทุนระดับเดียวกัน
2.    เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้ถึงหน้าที่ และบทบาทของผู้บริหารในการที่จะวางแผน ควบคุม และ ประสานงานให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.    เพื่อให้นักศึกษาเรียนรู้ถึงวิธีการและหลักการในการนำเสนอองค์ความรู้ที่ได้ เพื่อนำมาพัฒนาการทำงานและการควบคุมระบบงานได้อย่างเหมาะสม
4.    เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน และพัฒนาการทำงานให้ดียิ่งขึ้น
กิจกรรมการเรียนการสอน
1.    การบรรยายในชั้นเรียน   
2.    ถามตอบภายในชั้นเรียน
3.    มอบหมายแบบฝึกหัดและกรณีศึกษา
สื่อการสอน
            1. ตำรา และเอกสารประกอบการสอน
            2.  Power point
การประเมินผล
1.                กลางภาค 
-  กิจกรรมระหว่างเรียน/Quiz    10%
- สอบกลางภาค                             40%                        50%
2.                ปลายภาค                                                             50%
                             รวม                                                                  100%
หนังสือ/ตำราที่ใช้ประกอบการสอน
1.    ผศ.อรัญญา  ภาณุศานต์ การวางแผนและควบคุมโดยงบประมาณ กรุงเทพฯ, บริษัทธนาเพรส จำกัด : 2556
2.    พรพรรณ เอกเผ่าพันธ์ การวางแผนและควบคุมโดยงบประมาณ กรุงเทพฯ, หจก.สำนักพิมพ์ฟิสิกส์เซ็นเตอร์ : 2537
3.     ปนัดดา อินทร์พรหม การวางแผนและควบคุมทางการเงิน กรุงเทพฯ, สำนักพิมพ์ธรรมนิติ จำกัด : 2539
4.     นภาพร ณ เชียงใหม่ การวางแผนและควบคุมกำไร กรุงเทพฯ, บริษัท พัฒนาวิชาการ (2535)จำกัด : 2541
5.     อัมพร เที่ยงตระกูล การวางแผนและการควบคุมกำไร, กรุงเทพฯ, ฝ่ายเอกสารตำราสถาบันราชภัฎสวนดุสิต : 2541
เนื้อหาและการแบ่งหน่วยเรียน
  1. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการวางแผน  การควบคุมกำไร  และการจัดทำงบประมาณ
  2. การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานตามแผนกำไร
  3. พฤติกรรมต้นทุนและความสำพันธ์ต่อกระบวนการงบประมาณ
  4. งบประมาณกับกระบวนการบริหาร กระบวนการวางแผน และการควบคุม
  5. กระบวนการวางแผนงบประมาณ
  6. การวางแผนและควบคุมการขาย
  7. การวางแผนและควบคุมการผลิต วัตถุดิบทางตรง และค่าแรงงานทางตรง
  8. การวางแผนและควบคุมค่าใช้จ่าย
  9. การวางแผนและการควบคุมการจ่ายลงทุน
  10. การวางแผนและควบคุมเงินสด
  11. การจัดทำงบประมาณสำหรับกิจการที่ไม่ได้ทำการผลิตสินค้า
  12. การประมวลผลการจัดทำงบประมาณ
  13. การรายงานผลการปฏิบัติงานและการวิเคราะห์ผลแตกต่างจากงบประมาณ

หมายเหตุ  เนื้อหา และรายละเอียดการเรียนวิชานี้ อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม